การพัฒนาชุดตั้งครรภ์จำลอง จากวัสดุเหลือใช้

ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ดาริน โต๊ะกานิ, บงกช ศิริโรจนาพร

Abstract


การวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดตั้งครรภ์จำลอง จากวัสดุเหลือใช้ เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและ พัฒนาชุดตั้งครรภ์จำลองจากวัสดุเหลือ ใช้ให้มีความใกล้เคียงกับการตั้งครรภ์ และเพื่อหาประสิทธิภาพของชุด การดำเนินการวิจัย มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนาชุด มี 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างชุดตั้งครรภ์จำลอง จากวัสดุเหลือใช้ 3) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ทดลองใช้ 5) พัฒนาชุดตั้งครรภ์จำลอง ตอนที่ 2 การหาประสิทธิภาพของ ชุดตั้งครรภ์จำลอง จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ มารดาที่ผ่านการคลอด ไม่ต่ำกว่า 6 เดือนและไม่เกิน 1 ปี จำนวน 30 คน เครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของชุดตั้งครรภ์จำลอง เป็นแบบสอบถาม มี 2 ส่วน คือ ด้านคุณภาพและด้านการนำเครื่องมือไปใช้ คำนวณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค (Alpha Coefficient) ได้ค่าเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัยพบว่า ชุดตั้งครรภ์จำลองที่ได้ สร้างและพัฒนาขึ้น มีลักษณะภายนอกเป็นชุด ยาวถึงหน้าขาส่วนบน ไม่มีแขน ใช้ผ้ายีนส์ในการตัดเย็บ ลักษณะของชุดจะมีเต้านมและหน้าท้องยื่นออกมา ส่วนชิ้นที่อยู่ด้านนอกจะแยกไว้โดยใช้ตะขอและกระดุมแป็กติดสำหรับใส่โครงเปเปอร์มาเช่ ส่วนหน้าท้องและส่วนเต้านม ส่วนลักษณะภายใน จะเย็บบุผ้าโดยเว้นช่องไว้เพื่อใส่ลูกตะกั่ว ลูกปลาย น้ำหนัก ประมาณ 7 กิโลกรัมโดยใส่บริเวณ เต้านม ข้างละ ครึ่งกิโลกรัมและที่หน้าท้องเกลี่ยน้ำหนักในแต่ละช่อง รวมจำนวน 6 กิโลกรัมและเสริมด้วยใยสังเคราะห์ที่เต้านมและหน้าท้อง เพื่อให้นุ่มและเรียบเหมือนจริงมากขึ้น สำหรับประสิทธิภาพของชุดตั้งครรภ์จำลองภายหลังการสวมใส่ชุด โดยรวมพบว่า ด้านคุณภาพเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็น มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x=3.58, S.D=.508) ส่วนรายข้อ รู้สึกลำบากขณะเปลี่ยนอิริยาบถ มีค่าเฉลี่ย สูงสุดในระดับ (x= 4.20 , S.D. = .761) และรู้สึกไม่สุขสบาย x(= 3.90 , S.D. = .923) มีการยื่นขยายของหน้าอกและหน้าท้อง (x= 3.87 , S.D. = 1.074) ต้องแอ่นหลังมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x= 3.87 , S.D. = .681) และด้านการนำเครื่องมือไปใช้ โดยรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x= 3.68 , S.D. = .327) และรายข้อพบว่า รูปลักษณ์ภายนอกคล้ายคลึงกับการตั้งครรภ์จริง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมาก (x= 4.17 , S.D. = .592) วัสดุที่ใช้มีความคงทน และประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่เหลือให้เกิดประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x= 4.13 ,S.D. = .900)คำสำคัญ : ชุดตั้งครรภ์จำลอง วัสดุเหลือใช้

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.