ผลของระดับอาหารข้น และรูปแบบอาหารหยาบต่อสมรรถภาพการผลิต และต้นทุนการผลิตของโคขุน

สมนึก ลิ้มเจริญ

Abstract


การศึกษาการจัดการให้อาหารโคขุน 4 แบบ โดยใช้โคลูกผสมพื้นเมือง–บราห์มัน (75 เปอร์เซ็นต์) เพศผู้ไม่ตอน อายุประมาณ 2 ปี น้ำหนักประมาณ 220.71 + 37.69 กิโลกรัม จำนวน 12 ตัว ให้กินอาหารข้นสำเร็จรูปชนิดเม็ด โปรตีนไม่
น้อยกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ร่วมกับหญ้าซิกแนลเลื้อย (Brachiaria humidicola) ในรูปหญ้าสด และหญ้าแห้ง มีการจัดการให้อาหาร 2 แบบ รวม 4 กลุ่มๆ ละ 3 ตัว จากการขุนพบว่าโคที่ให้อาหารข้นเต็มที่กลุ่มที่ 2 มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 1,110 
กรัม/ตัว/วัน สูงกว่ากลุ่มที่ 1, 3 และ 4 คือ 860, 820 และ 780 ตามลำดับ (P < 0.05) โดยใช้ระยะเวลาการขุน 150 วันเท่ากันทั้ง 4 กลุ่ม ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โคกลุ่มที่ 2, 1, 3 และ 4 ได้กำไรท่ากับ 3,637.17, 2,374.84, 1,347.96 และ 628.84 บาทตาม
ลำดับคำสำคัญ : การขุนโค   โคลูกผสมเมือง-บราห์มัน   อาหารข้น

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.