การสร้างเครื่องตำข้าวซ้อมมือ

ประมินทร์ หะยะมิน

Abstract


 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องตำข้าวซ้อมมือ ที่ใช้แก้ปัญหาของกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตข้าวซ้อมมือออกจำหน่าย เป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดนราธิวาส ที่ปัจจุบันยังใช้แรงงานคนในการผลิตข้าวซ้อมมือทำให้เกิดความเมื่อยล้าในการตำข้าวซ้อมมือ ซึ่งโดยทั่วไปกระบวนการผลิตข้าวซ้อมมือ ของกลุ่มแม่บ้านโคกอิฐ โคกใน ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่ผลิตข้าวหอมกระดังงาออกจำหน่าย มีขั้นตอนการผลิตที่เกิดความล่าช้า คือ การนำข้าวสารที่ได้จากการสีด้วยครกโบราณมาแยกเปลือกออกแล้วนำมาตำด้วยครก เพื่อให้ข้าวสารที่ได้จากการตำนำไปหุงแล้วมีความนุ่มและสามารถรับประทานได้มากขึ้น ซึ่งต้องใช้แรงงานคน 3 – 5 คนในการตำ 1 ครั้งได้ปริมาณ 5 ลิตร โดยใช้ระยะเวลาในการตำประมาณ 15 นาที เครื่องตำข้าวซ้อมมือที่สร้างขึ้นมาสามารถทำงานได้โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า 220 V ขนาด ¼ แรงม้า ไปขับเกียร์ทดรอบหมุนใบพัดให้ยกสากให้เคลื่อนที่ขึ้นและตกลงมาด้วยน้ำหนักของสากและแกน ในอัตราความเร็ว 90 ครั้งต่อนาที สามารถ
ตำข้าวได้ 2.3 ลิตร โดยใช้ระยะเวลาในการตำ 5 นาที ผลผลิตที่ได้จากการตำด้วยเครื่องตำข้าวมีความใกล้เคียงกับกลุ่มแม่บ้าน วิธีการดำเนินการวิจัย ได้ใช้วิธีการประเมินคุณภาพของเครื่องตำข้าวที่สร้างขึ้น โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและสร้างเครื่องจักรกลด้วยการทดลองและตอบแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 7 คน ที่มีประสบการณ์ในการสอนทางด้านการสร้างเครื่องจักรกล 5 ปี แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ผลเพื่อหาค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นในด้านการออกแบบ มีค่าเท่ากับ 4.454 และค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพของการใช้งานมีค่าเท่ากับ 4.538 สรุปได้ว่า เครื่องตำข้าวที่สร้างขึ้น ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องเกี่ยวกับคุณภาพและประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี
คำสำคัญ : ข้าวซ้อมมือ เครื่องตำข้าวซ้อมมือ

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.