การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายงานการประกอบแบบเส้นตรงโดยวิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
Abstract
บทความนี้ประยุกต์ใช้วิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายงานการประกอบเย็บของเสื้อแขนสั้นรุ่น 518729 ของโรงงานกรณีศึกษา มีการผลิตสินค้าเป็นแบบชนิดเดียว ซึ่งมีจำนวนสถานีงาน 23 สถานี และประสิทธิภาพของสายงานการประกอบในปัจจุบันเท่ากับ 41.39 เปอร์เซ็นต์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการหาจำนวนสถานีงานที่น้อยที่สุด (m) ซึ่งจัดเป็นปัญหาการจัดสมดุลสายงานการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1 (Simple Assembly Line Balancing Type 1: SALBP-1) โดยมีการพิจารณาประเภทเครื่องจักรเป็นเงื่อนไขประกอบในการจัดสมดุลสายงานการประกอบเย็บและทำการเปรียบเทียบผลกับสายงานการประกอบเย็บของเสื้อแขนสั้นรุ่น 518729 ปัจจุบันของโรงงานกรณีศึกษาและวิธีฮิวริสติกพื้นฐาน ได้แก่ วิธี Largest Candidate Rule (LCR), วิธี Kilbridge and Weter’s Method (KWM) และวิธี Ranked Positinal Weights Method (RPW) ซึ่งวิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่นจะทำการสร้างโครโมโซมเริ่มต้นด้วยการสุ่มจากจำนวนจริงและปรับปรุงคำตอบด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพิกัด วิธีการแลกเปลี่ยนพิกัด และการคัดเลือกจากผลการทดลอง พบว่า วิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่นสามารถลดจำนวนสถานีงานได้จากสายงานการประกอบเย็บปัจจุบันจาก 23 สถานี และวิธี LCR, KWM และ RPW จาก 21, 21 และ 23 สถานีตามลำดับเป็น 17 สถานี และมีประสิทธิภาพของสายงานการประกอบเย็บเพิ่มขึ้นเท่ากับ 56 เปอร์เซ็นต์
คำสำคัญ สมดุลสายงานการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1, วิธีการดิฟเฟอร์เรนเชียลอิโวลูชั่น
Refbacks
- There are currently no refbacks.