การพัฒนาวิธีปฏิบัติการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ หอผู้ป่วยเด็ก 1 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Abstract
การวิจัยแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีปฏิบัติการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในหอผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ประชากรเป้าหมายในการวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพ, ผู้ช่วยพยาบาล, พนักงานช่วยการพยาบาล, พนักงานช่วยเหลือผู้ป่วย รวม 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความรู้และแบบการเก็บข้อมูล โดยใช้มาตรฐานการเจาะเลือดเพาะเชื้อของฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ซึ่งผ่านการประเมินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ( คำสั่งฝ่ายบริการพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ มอ. 01 /541 )เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม 549 โดยการสังเกตการปฏิบัติ สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD. ) การทดสอบค่า t ( dependent t-test )
ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรมีความรู้ถูกต้องเพิ่มขึ้นหลังการให้ความรู้และนิเทศงานอย่างใกล้ชิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการปนเปื้อนจากการเจาะเลือดเพื่อส่งเพาะเชื้อโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ลดลง จากร้อยละ .8 เป็นร้อยละ 1.01
จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานด้วยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เนื่องจากวิธีการนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและการประสานงานของบุคลากรทุกระดับภายใต้ข้อตกลงร่วมกันของทุกคน คือ เป้าหมายของหน่วยงาน การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางร่วมกันความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของทุกคน จึงทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมต่อบทบาทหน้าที่ของตนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสร้างทีม การวิเคราะห์และระบุปัญหา การวางแผนและการดำเนินการตามแผน รวมทั้งการประเมินผล ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการพัฒนาวิธีการเจาะเลือดเพื่อส่งเพาะเชื้อพบว่า ความรู้และประสบการณ์ ความตระหนักในการปฏิบัติงานของทุกคนเป็นปัจจัยที่สำคัญ ส่วนบทบาทของทีมนำและที่ปรึกษาเป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพงาน นอกจากนี้ต้องมีการควบคุม กำกับ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
คำสำคัญ : การพัฒนา วิธีปฏิบัติการ เจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ
ผลการวิจัยพบว่าบุคลากรมีความรู้ถูกต้องเพิ่มขึ้นหลังการให้ความรู้และนิเทศงานอย่างใกล้ชิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการปนเปื้อนจากการเจาะเลือดเพื่อส่งเพาะเชื้อโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ลดลง จากร้อยละ .8 เป็นร้อยละ 1.01
จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานด้วยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เนื่องจากวิธีการนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและการประสานงานของบุคลากรทุกระดับภายใต้ข้อตกลงร่วมกันของทุกคน คือ เป้าหมายของหน่วยงาน การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางร่วมกันความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของทุกคน จึงทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมต่อบทบาทหน้าที่ของตนทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสร้างทีม การวิเคราะห์และระบุปัญหา การวางแผนและการดำเนินการตามแผน รวมทั้งการประเมินผล ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการพัฒนาวิธีการเจาะเลือดเพื่อส่งเพาะเชื้อพบว่า ความรู้และประสบการณ์ ความตระหนักในการปฏิบัติงานของทุกคนเป็นปัจจัยที่สำคัญ ส่วนบทบาทของทีมนำและที่ปรึกษาเป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพงาน นอกจากนี้ต้องมีการควบคุม กำกับ เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
คำสำคัญ : การพัฒนา วิธีปฏิบัติการ เจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ
Refbacks
- There are currently no refbacks.