การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพแนวปฏิบัติการพยาบาลในการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ โดยผู้ใช้แนวปฏิบัติคือพยาบาลผู้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ จำนวน 30 ราย แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ การสร้างแนวปฏิบัติฯ และการประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติฯ ผู้วิจัยดัดแปลงแนวทางในการปฏิบัติการช่วยชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บขั้นสูงของ Advance Trauma Life Support (ATLS) ในระยะการประเมินร่างกายโดยละเอียด (secondary survey) เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสร้างเนื้อหาของแนวปฏิบัติฯ นี้ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ .90 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .86 การประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติฯ ประเมินจาก 1) ความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติฯ โดยใช้แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯ และแบบสอบถามความยาก-ง่ายในการใช้แนวปฏิบัติฯที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดียวกันทั้ง 5 ท่าน 2) ความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติฯ โดยใช้แบบมาตรวัดแบบตัวเลข 3) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้แนวปฏิบัติฯ 4) ความสามารถในการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้ครอบคลุมและถูกต้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่และร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่าแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้มีทั้งหมด 7 หมวด โดยพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ 5 หมวด ยกเว้นหมวดการบันทึกความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารไม่ได้ (ร้อยละ 96.7 สามารถปฏิบัติตามได้) และหมวดการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่พบบ่อย (ร้อยละ 96.7 สามารถปฏิบัติตามได้) พยาบาลร้อยละ 70 ระบุว่าแนวปฏิบัตินี้มีความง่ายในการนำไปใช้และมีความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 93.3 พยาบาลร้อยละ 96.7 สามารถกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้ถูกต้อง และร้อยละ 80 สามารถกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้ครอบคลุม ดังนั้นแนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบได้
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติทางพยาบาล ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ การประเมินสภาพแรกรับ
ผลการศึกษาพบว่าแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้มีทั้งหมด 7 หมวด โดยพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติร้อยละ 100 สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ 5 หมวด ยกเว้นหมวดการบันทึกความปวดในผู้ป่วยที่สื่อสารไม่ได้ (ร้อยละ 96.7 สามารถปฏิบัติตามได้) และหมวดการกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่พบบ่อย (ร้อยละ 96.7 สามารถปฏิบัติตามได้) พยาบาลร้อยละ 70 ระบุว่าแนวปฏิบัตินี้มีความง่ายในการนำไปใช้และมีความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ 93.3 พยาบาลร้อยละ 96.7 สามารถกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้ถูกต้อง และร้อยละ 80 สามารถกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลได้ครอบคลุม ดังนั้นแนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบได้
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติทางพยาบาล ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ การประเมินสภาพแรกรับ
Refbacks
- There are currently no refbacks.