ความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพแวดล้อมในสถาบัน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ Pandemic Flu A H1N1 ของ นักศึกษาพยาบาลตำรวจ

กรรณิการ์ เกตุนิล

Abstract


 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในสถาบัน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ Pandemic Flu A H1N1 ของนักศึกษาพยาบาลตำรวจชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในสถาบันพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ โภชนาการ การทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย การจัดการความเครียด ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การพัฒนาทางจิตวิญญาณและพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ Pandemic Flu A H1N1 ได้ทำการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน บาค (Cronbach’s Coeffecient of Alpha) ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ 0.90,0.80 และ 0.95 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในสถาบัน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ Pandemic Flu A H1N1 โดยใช้ Pearson Product Moment Correlation
 ผลการวิจัยพบว่า  1. สภาพแวดล้อมในสถาบันอยู่ในระดับปานกลาง ( x=3.23, SD. =0.54) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับ ดี ( x=3.09, SD. =0.24)พฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ Pandemic Flu A H1N1อยู่ในระดับ ดี (x =3.08, SD. =0.48) 2. สภาพแวดล้อมในสถาบันและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ โภชนาการ  การจัดการความเครียด ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ Pandemic Flu A H1N1 และ 3. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย การพัฒนาทางจิตวิญญาณมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ Pandemic Flu A H1N1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : สภาพแวดล้อมในสถาบัน พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่  Pandemic Flu A H1N1 นักศึกษาพยาบาลตำรวจ

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.