จิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) จิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จำแนกตามเพศ คณะ ประเภทของโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นปี และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 716 คน จาก 7 คณะ คือ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะรัฐศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวิทยาลัยอิสลามศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.985 และ 0.992 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบค่าเอฟ (F-test) ทดสอบค่าสหสัมพันธ์รโดยใช้วิธี Pearson Product- moment coefficient correlations
ผลการวิจัยพบว่า จิตสาธารณะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อยู่ในระดับมาก มีรูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มก้าวหน้าและกลุ่มวิชาชีพมากที่สุด และน้อยที่สุด คือ กลุ่มเก็บตัว และจิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : จิตสาธารณะ รูปแบบการดำเนินชีวิต
ผลการวิจัยพบว่า จิตสาธารณะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อยู่ในระดับมาก มีรูปแบบการดำเนินชีวิตกลุ่มก้าวหน้าและกลุ่มวิชาชีพมากที่สุด และน้อยที่สุด คือ กลุ่มเก็บตัว และจิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ : จิตสาธารณะ รูปแบบการดำเนินชีวิต
Refbacks
- There are currently no refbacks.