ผลการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ : กรณีศึกษาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่โรงเรียนเทศบาล๑ อ.เมือง จ.นราธิวาส
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ในเชิงผลลัพธ์ และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถของแกนนำและผู้ปกครองในกระบวนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ประชากรที่ศึกษา คือ แกนนำศูนย์เด็กเล็ก แกนนำชุมชนและผู้ปกครองจำนวน 116 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของกรมอนามัย คู่มือการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และแบบประเมินความสามารถในกระบวนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของแกนนำและผู้ปกครอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีค่าความเที่ยง ของแบบประเมินความสามารถของแกนนำและผู้ปกครองในกระบวนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.97
ผลการวิจัยพบว่า 1) แกนนำและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทั้งในขั้นการเตรียมการ ขั้นปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและขั้นประเมินผลการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยในขั้นตอนการเตรียมการและการประเมินผลนั้นผู้ปกครองมีส่วนร่วมในระดับน้อยเนื่องจากมีรายละเอียดที่เข้าใจค่อนข้างยาก ส่วนในขั้นตอนปฏิบัติการนั้น ทั้งแกนนำและผู้ปกครองมีส่วนร่วมดีมาก 2) ผลการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ในเชิงผลลัพธ์ จากการประเมินตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของกรมอนามัย เปลี่ยนแปลงจากระดับดีเป็นดีมากและ 3) การเปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของแกนนำและผู้ปกครองโดยรวมทุกด้านและแยกรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ความสามารถโดยรวมก่อนกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับน้อย (X = 1.96 SD. = .57 ) ส่วนภายหลังกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่ามีความสามารถเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ( X= 3.61 SD. = .41 ) โดยพบว่า แกนนำมีความสามารถอยู่ในระดับดี ( X= 4.06 ) ในขณะที่ผู้ปกครองมีความสามารถน้อยกว่า (X= 3.39 ) แต่อยู่ในระดับดีเช่นกัน
คำสำคัญ : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู
ผลการวิจัยพบว่า 1) แกนนำและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกระบวนการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทั้งในขั้นการเตรียมการ ขั้นปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและขั้นประเมินผลการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยในขั้นตอนการเตรียมการและการประเมินผลนั้นผู้ปกครองมีส่วนร่วมในระดับน้อยเนื่องจากมีรายละเอียดที่เข้าใจค่อนข้างยาก ส่วนในขั้นตอนปฏิบัติการนั้น ทั้งแกนนำและผู้ปกครองมีส่วนร่วมดีมาก 2) ผลการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ในเชิงผลลัพธ์ จากการประเมินตามมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของกรมอนามัย เปลี่ยนแปลงจากระดับดีเป็นดีมากและ 3) การเปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของแกนนำและผู้ปกครองโดยรวมทุกด้านและแยกรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ความสามารถโดยรวมก่อนกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับน้อย (X = 1.96 SD. = .57 ) ส่วนภายหลังกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม พบว่ามีความสามารถเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ( X= 3.61 SD. = .41 ) โดยพบว่า แกนนำมีความสามารถอยู่ในระดับดี ( X= 4.06 ) ในขณะที่ผู้ปกครองมีความสามารถน้อยกว่า (X= 3.39 ) แต่อยู่ในระดับดีเช่นกัน
คำสำคัญ : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู
Refbacks
- There are currently no refbacks.