พืชสมุนไพรประจำถิ่นและภูมิปัญญาการประยุกต์ใช้สำหรับการแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ในเรื่องชนิดของพืชสมุนไพรประจำถิ่น ความรู้และภูมิปัญญาการประยุกต์ใช้สำหรับการแพทย์พื้นบ้านในท้องถิ่นจังหวัดชายแดนใต้ เปรียบเทียบสรรพคุณและ
การใช้สมุนไพรจำแนกตามอาการ กลุ่มอาการและกลุ่มโรคสำคัญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในประชาชนและการสัมภาษณ์ปราชญ์ผู้ทรงภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ในเขตชุมชนและหมู่บ้าน ของอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส วิเคราะห์
ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา โดยใช้จำนวน ร้อยละ สัดส่วนและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า มีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่นิยมนำมาใช้ในรักษาโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติของร่างกายและแต่ละชนิดที่นำมาใช้จะมีสรรพคุณหลายอย่าง แต่จะมีชื่อเรียกของชนิดและพันธุ์พืชสมุนไพรที่แตกต่างจากท้องถิ่นอื่นๆ
และยังพบว่ามีเพียงไม่กี่ชนิดที่นำมาใช้กับโรคหรือกลุ่มอาการที่เหมือนกัน ประชาชนมีความรู้เรื่องการใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และสนใจในเรื่องการใช้สมุนไพร ภูมิปัญญาการใช้พืชสมุนไพรมักเป็นเรื่อง การบำบัดรักษาอาการ
ป่วยพื้นฐานในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นอาการ กลุ่มอาการและโรคที่ไม่รุนแรงนักคือ ท้องผูก ท้องเสีย แผลในกระเพาะ ไอ เจ็บคอ ขับเสมหะ ควรศึกษาร่วมในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ คติความเชื่อ หลักศาสนาของชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญการแพทย์พื้นบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อที่จะได้สามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านนี้ไว้ต่อไปคำสำคัญ : การแพทย์พื้นบ้าน, สมุนไพรท้องถิ่น
การใช้สมุนไพรจำแนกตามอาการ กลุ่มอาการและกลุ่มโรคสำคัญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในประชาชนและการสัมภาษณ์ปราชญ์ผู้ทรงภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ในเขตชุมชนและหมู่บ้าน ของอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส วิเคราะห์
ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา โดยใช้จำนวน ร้อยละ สัดส่วนและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า มีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่นิยมนำมาใช้ในรักษาโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติของร่างกายและแต่ละชนิดที่นำมาใช้จะมีสรรพคุณหลายอย่าง แต่จะมีชื่อเรียกของชนิดและพันธุ์พืชสมุนไพรที่แตกต่างจากท้องถิ่นอื่นๆ
และยังพบว่ามีเพียงไม่กี่ชนิดที่นำมาใช้กับโรคหรือกลุ่มอาการที่เหมือนกัน ประชาชนมีความรู้เรื่องการใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และสนใจในเรื่องการใช้สมุนไพร ภูมิปัญญาการใช้พืชสมุนไพรมักเป็นเรื่อง การบำบัดรักษาอาการ
ป่วยพื้นฐานในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นอาการ กลุ่มอาการและโรคที่ไม่รุนแรงนักคือ ท้องผูก ท้องเสีย แผลในกระเพาะ ไอ เจ็บคอ ขับเสมหะ ควรศึกษาร่วมในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ คติความเชื่อ หลักศาสนาของชุมชน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญการแพทย์พื้นบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อที่จะได้สามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านนี้ไว้ต่อไปคำสำคัญ : การแพทย์พื้นบ้าน, สมุนไพรท้องถิ่น
Refbacks
- There are currently no refbacks.