ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก แบบไม่นอนโรงพยาบาล
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการสอนอย่างมีแบบแผนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก แบบไม่นอนโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปิด
ทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก แบบไม่นอนโรงพยาบาล ประกอบด้วย กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 32 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติจากพยาบาลประจำการ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนจากผู้วิจัย เครื่อง
มือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกลักษณะทั่วไป และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับการผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ แมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม มีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างกัน ทั้ง เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองหลังการสอน พบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรม
การดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการสอนอย่างมีแบบแผนในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้ดี
ขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการสอนตามปกติคำสำคัญ : การสอนอย่างมีแบบแผน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก
ทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก แบบไม่นอนโรงพยาบาล ประกอบด้วย กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 32 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติจากพยาบาลประจำการ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการสอนอย่างมีแบบแผนจากผู้วิจัย เครื่อง
มือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการสอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกลักษณะทั่วไป และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองหลังได้รับการผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ แมนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม มีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างกัน ทั้ง เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองหลังการสอน พบว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรม
การดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการสอนอย่างมีแบบแผนในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้ดี
ขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการสอนตามปกติคำสำคัญ : การสอนอย่างมีแบบแผน พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผ่าตัดเปิดทางเชื่อมระหว่างถุงน้ำตากับช่องจมูก
Refbacks
- There are currently no refbacks.