การจัดการดินกรดโดยใช้ปูนและอินทรียวัตถุ
Abstract
ดินกรด เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีปัญหาทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืช ปัญหาอาจเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดิน สภาพทางภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยให้เกิดการชะล้างพังทลาย และจากกิจกรรมของ
มนุษย์ที่ใช้ดินไม่ถูกต้อง โดยพื้นที่ทำการเกษตรในภาคใต้มีพื้นที่ประมาณ 27 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ดินเป็นกรด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศภาคใต้เป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุก ทำให้ธาตุอาหารสำคัญถูกชะล้าง จึงส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินคือ ขาด
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี เป็นต้น ฟอสฟอรัสจะละลายออกมาในสารละลายดินได้น้อยแม้จะมีการใส่ปุ๋ย จึงเป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตของพืช
หากต้องการใช้ประโยชน์จากดินเพื่อการเพาะปลูก จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงดินเช่น การใส่ปุ๋ย และการใส่วัสดุปูน เพื่อทำให้ดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารในดินเพิ่มมากขึ้นจนสามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้คำสำคัญ : ดินกรด ปูน อินทรียวัตถุ
มนุษย์ที่ใช้ดินไม่ถูกต้อง โดยพื้นที่ทำการเกษตรในภาคใต้มีพื้นที่ประมาณ 27 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ดินเป็นกรด เนื่องจากสภาพภูมิอากาศภาคใต้เป็นแบบร้อนชื้น ฝนตกชุก ทำให้ธาตุอาหารสำคัญถูกชะล้าง จึงส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินคือ ขาด
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี เป็นต้น ฟอสฟอรัสจะละลายออกมาในสารละลายดินได้น้อยแม้จะมีการใส่ปุ๋ย จึงเป็นข้อจำกัดต่อการเจริญเติบโตของพืช
หากต้องการใช้ประโยชน์จากดินเพื่อการเพาะปลูก จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงดินเช่น การใส่ปุ๋ย และการใส่วัสดุปูน เพื่อทำให้ดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารในดินเพิ่มมากขึ้นจนสามารถใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้คำสำคัญ : ดินกรด ปูน อินทรียวัตถุ
Refbacks
- There are currently no refbacks.