การศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยของนักศึกษาพยาบาล
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยของนักศึกษาพยาบาลตามความเป็นจริงและความคาดหวังและเพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้รายวิชาเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยตามความเป็นจริงและความคาดหวังของนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปี 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ปีการศึกษา 2557 จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 35 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.967 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ Paired t-test
ผลการวิจัย สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยของนักศึกษาพยาบาลตามความเป็นจริงและความคาดหวัง พบว่า 1. วิธีการเรียนรู้ตามความเป็นจริง 3 อันดับมีดังนี้ อันดับ 1) การฟังบรรยายแบบมีส่วนร่วมร้อยละ 67.20 อันดับ 2) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองร้อยละ 29.90 และอันดับ 3) การร่วมสัมมนาวิชาการร้อยละ 22.40 2. วิธีการเรียนรู้ตามความคาดหวัง อันดับ 1) การฟังบรรยายแบบมีส่วนร่วมร้อยละ 46.30 อันดับ 2) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองร้อยละ 25.40 และอันดับ 3) การฝึกประสบการณ์จริง ร้อยละ 20.90 ส่วนการจัดการเรียนรู้ตามความเป็นจริงโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.83, S.D.= .47) โดยด้านบุคลิกภาพและเทคนิคการถ่ายทอดของอาจารย์ อยู่ในระดับมาก (x= 4.11, S.D.= .54) ความคาดหวังค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 4.36, S.D.= .39) โดยด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (x=4.48, S.D.= .42) 2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการจัดการเรียนรู้รายวิชาเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยตามความเป็นจริงและความคาดหวังของนักศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้ รายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย นักศึกษาพยาบาล
ผลการวิจัย สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยของนักศึกษาพยาบาลตามความเป็นจริงและความคาดหวัง พบว่า 1. วิธีการเรียนรู้ตามความเป็นจริง 3 อันดับมีดังนี้ อันดับ 1) การฟังบรรยายแบบมีส่วนร่วมร้อยละ 67.20 อันดับ 2) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองร้อยละ 29.90 และอันดับ 3) การร่วมสัมมนาวิชาการร้อยละ 22.40 2. วิธีการเรียนรู้ตามความคาดหวัง อันดับ 1) การฟังบรรยายแบบมีส่วนร่วมร้อยละ 46.30 อันดับ 2) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองร้อยละ 25.40 และอันดับ 3) การฝึกประสบการณ์จริง ร้อยละ 20.90 ส่วนการจัดการเรียนรู้ตามความเป็นจริงโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 3.83, S.D.= .47) โดยด้านบุคลิกภาพและเทคนิคการถ่ายทอดของอาจารย์ อยู่ในระดับมาก (x= 4.11, S.D.= .54) ความคาดหวังค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x= 4.36, S.D.= .39) โดยด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (x=4.48, S.D.= .42) 2. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการจัดการเรียนรู้รายวิชาเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วยตามความเป็นจริงและความคาดหวังของนักศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้ รายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย นักศึกษาพยาบาล
Refbacks
- There are currently no refbacks.