การสร้างเครื่องสีข้าวกล้อง

สุรสิทธิ์ ช่อวงศ์

Abstract


 การวิจัยเรื่องการสร้างเครื่องสีข้าวกล้องนี้ผู้วิจัยพบปัญหาว่า ในขณะนี้มีผู้สร้างเครื่องสีข้าวกล้องมาใช้แต่ยังมีจุดด้อยอยู่คือการออกแบบเครื่องสีข้าวกล้องแบบมือหมุน โดยใช้ลูกกลิ้งยางมาตรฐานขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว มีการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกการลำเลียงข้าวเปลือกลงสู่หน้าลูกกลิ้งยาง ควบคุมความเร็วในการปล่อยข้าวให้สัมพันธ์กับความเร็วในการหมุนเครื่องขั้นตอนที่สองการกะเทาะเปลือก โดยใช้ลูกกลิ้งยาง 2 ลูกหมุนเข้าหากันด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สาม การแยกแกลบแบบใช้ลมเป่า จุดที่ต้องแก้ไขคือ การใช้มือหมุนจะทำให้ควบคุมความเร็วไม่ได้ ใช้ลูกกลิ้ง ลูกจะทำให้การกะเทาะข้าวเปลือกไม่ดี ผู้วิจัยจึงคิดสร้างเครื่องสีข้าวกล้องขึ้นโดย ใช้มอเตอร์เป็นต้นกำลังใช้ลูกกลิ้ง ลูกหมุนในความเร็วที่ต่างกันทำการกะเทาะเปลือกข้าวออกและมีชุดดูดแยกเอาแกลบออกไป ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องสีข้าวกล้อง และมีสมมติฐานคือ เครื่องสีข้าวกล้องที่สร้างขึ้นต้องผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ
จากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี ( .50 ขึ้นไป )
 หลังจากสร้างเครื่องสีข้าวกล้องแล้วได้สาธิตการทำงานของเครื่องให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินคุณภาพใน ด้าน คือ ด้านโครงสร้าง ด้านการใช้งาน และด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จากการนำผลประเมินนำมาวิเคราะห์ พบว่าเครื่องสีข้าวกล้องมีคุณภาพอยู่ในระดับคุณภาพดีมากทั้งในภาพรวมและแต่ละด้านจากการทดลองสีข้าว ,000 กรัม แล้วนำมา 0 กรัมเพื่อทำการนับเมล็ดโดยทำการทดลอง ครั้งได้เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี 85.1 4% การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่อง สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีจากการสีด้วยเครื่องสีข้าวกล้อง มีค่ามากกว่าการบดด้วยครกสีข้าวสำหรับการวิเคราะห์หาช่วงความเชื่อมั่นของการสีข้าวกล้องด้วยเครื่อง ที่ความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า 95% จากการทดลองพบว่าเปอร์เซ็นต์เมล็ดดีของผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องที่สีด้วยเครื่องสีข้าวกล้องในแต่ละครั้งมีค่าโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 84.2 921 % ถึง 85.9946%
คำสำคัญ : เครื่องสีข้าว ข้าวกล้อง

Full Text: PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.