การดูแลแบบผสมผสานของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
Abstract
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้และผลการใช้การดูแลแบบผสมผสานรูปแบบต่าง ๆ เพื่อควบคุมโรคและจัดการอาการของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุและไม่มีโรคอื่นที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ที่มารับบริการที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยบริการปฐมภูมิในจังหวัดสงขลาช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2552 จำนวน 318 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยมีประสบการณ์ในการใช้การดูแลแบบผสมผสาน จากหน่วยบริการปฐมภูมิจำนวน 5 แห่งที่มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมารับบริการมากที่สุด โดยคำนวณตามสัดส่วนประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) รูปแบบการดูแลแบบผสมผสานที่ใช้และผลการดูแลแบบผสมผสานซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการทดสอบความตรงของเนื้อหาของเครื่องมือจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและทดสอบหาความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิธีทดสอบซ้ำ (test – retest method) คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของแคปป้า (Cohen, s kappa coefficient) ได้ค่าความสอดคล้องในการวัดซ้ำตามรูปแบบอยู่ระหว่าง 0.82 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้การดูแลแบบผสมสานรูปแบบต่างๆ เพื่อควบคุมโรคเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ อาหารและสมุนไพร (ร้อยละ 91.82) สมาธิ (ร้อยละ 46.23) การนวด (ร้อยละ 35.53) โยคะ (ร้อยละ 17.92) ชีวจิต (ร้อยละ 17.30) การกดจุด (ร้อยละ 4.40) ชี่กง (ร้อยละ 4.09) สุคนธบำบัด (ร้อยละ 3.77) และฤๅษีดัดตน (ร้อยละ 0.63) รูปแบบที่มีผลการใช้อยู่ในระดับมากได้แก่ โยคะ ชีวจิต และชี่กง ส่วนรูปแบบอื่น ๆ มีผลการใช้อยู่ในระดับปานกลาง อาการที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อาการปวดศีรษะ/มึนศีรษะ การดูแลแบบผสมผสานรูปแบบที่ผู้ป่วยนำมาใช้ในการจัดการอาการได้แก่ การนวด (ร้อยละ 44.97) รองลงมาคือ สมาธิ (ร้อยละ 38.36) และอาหารและสมุนไพร (ร้อยละ 18.55) ซึ่งพบว่ามีผลการใช้อยู่ในระดับปานกลางทุกรูปแบบ สำหรับการดูแลแบบผสมผสานรูปแบบที่มีการใช้น้อยแต่ผลการใช้อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ชี่กง สุคนธบำบัด และฤๅษีดัดตน
ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการเลือกใช้และผลการใช้การดูแลแบบผสมผสานในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและจัดระบบการดูแลแบบผสมผสานร่วมกับการดูแลระบบการแพทย์ปัจจุบันแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ : การดูแลแบบผสมผสาน, ความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วย
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้การดูแลแบบผสมสานรูปแบบต่างๆ เพื่อควบคุมโรคเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ อาหารและสมุนไพร (ร้อยละ 91.82) สมาธิ (ร้อยละ 46.23) การนวด (ร้อยละ 35.53) โยคะ (ร้อยละ 17.92) ชีวจิต (ร้อยละ 17.30) การกดจุด (ร้อยละ 4.40) ชี่กง (ร้อยละ 4.09) สุคนธบำบัด (ร้อยละ 3.77) และฤๅษีดัดตน (ร้อยละ 0.63) รูปแบบที่มีผลการใช้อยู่ในระดับมากได้แก่ โยคะ ชีวจิต และชี่กง ส่วนรูปแบบอื่น ๆ มีผลการใช้อยู่ในระดับปานกลาง อาการที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อาการปวดศีรษะ/มึนศีรษะ การดูแลแบบผสมผสานรูปแบบที่ผู้ป่วยนำมาใช้ในการจัดการอาการได้แก่ การนวด (ร้อยละ 44.97) รองลงมาคือ สมาธิ (ร้อยละ 38.36) และอาหารและสมุนไพร (ร้อยละ 18.55) ซึ่งพบว่ามีผลการใช้อยู่ในระดับปานกลางทุกรูปแบบ สำหรับการดูแลแบบผสมผสานรูปแบบที่มีการใช้น้อยแต่ผลการใช้อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ชี่กง สุคนธบำบัด และฤๅษีดัดตน
ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการเลือกใช้และผลการใช้การดูแลแบบผสมผสานในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและจัดระบบการดูแลแบบผสมผสานร่วมกับการดูแลระบบการแพทย์ปัจจุบันแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างเหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ : การดูแลแบบผสมผสาน, ความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วย
Refbacks
- There are currently no refbacks.