การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง “ อุทกเศียร(Hydrocephalus)” สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง อุทกเศียร (Hydrocephalus) สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้นกับนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการการเรียนการสอนแบบปกติ ซึ่งบทเรียนได้ผ่านการตรวจสอบโดยผูเทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.72 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.27-0.64 และค่าดัชนีความยากง่าย (p) มีค่าระหว่าง 0.50-0.82 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 80 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ จำนวน 40 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มทดลองที่มีการเรียนผ่านบทเรียนที่พัฒนาขึ้นจำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ใช้สูตร E1/E2 การทดสอบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สถิติค่าที (Paired t-test, Independent t-test) และวิเคราะห์ความพึงพอใจ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพบทเรียนที่สร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเท่ากับ 87.75/82.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนที่สร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนสูงกว่ากับนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บทเรียนที่สร้างขึ้นมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาเรื่องอุทกเศียรและทบทวนบทเรียนได้ดีขึ้น
คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, อุทกเศียร(Hydrocephalus), นักศึกษาพยาบาล
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพบทเรียนที่สร้างขึ้น มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเท่ากับ 87.75/82.55 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนที่สร้างขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนสูงกว่ากับนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดการการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ใช้บทเรียนที่สร้างขึ้นมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาเรื่องอุทกเศียรและทบทวนบทเรียนได้ดีขึ้น
คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, อุทกเศียร(Hydrocephalus), นักศึกษาพยาบาล
Refbacks
- There are currently no refbacks.