ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่ออาการปากแห้ง และเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา
Abstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ ศึกษาผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่ออาการปากแห้งและเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยแผนกรังสีรักษา ศูนย์มะเร็งภาคใต้ 40 ราย ผู้วิจัยจัดให้ผู้ป่วย 20 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และ 20 รายหลังเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ ที่เน้นการดูแลสุขภาพช่องปากระหว่างการได้รับรังสีรักษาและการส่งเสริมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง ประกอบด้วยการสร้างสัมพันธภาพ การให้ความรู้ การชี้แนะ การสนับสนุน และการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการดูแลตนเอง รวมเวลาที่ศึกษา 4 สัปดาห์ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบประเมินอาการปากแห้ง แบบประเมินความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ และแบบประเมินการดูแลช่องปากด้วยตนเองของผู้ป่วย ในสัปดาห์ที่ 1 ก่อนทดลอง (T0) สัปดาห์ที่ 2 (T1) สัปดาห์ที่ 3 (T2) และสัปดาห์ที่ 4 หลังทดลอง (T3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตินอนพาราเมตริก (ฟีร์ดแมน และแมน-วิทนีย์ ยู เทส) และพาราเมตริก (ทีอิสระและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความรุนแรงของอาการปากแห้ง และอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงสัปดาห์โดยมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีความรุนแรงของอาการปากแห้งและอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในทุกช่วงเวลาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) หน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเฉพาะแผนกรังสีรักษาควรพิจารณานำระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้นี้ไปใช้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของอาการปากแห้งและเยื่อบุช่องปากอักเสบสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป
คำสำคัญ : การพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้, อาการปากแห้ง, อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ มะเร็งศีรษะ และคอที่ได้รับรังสีรักษา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีความรุนแรงของอาการปากแห้ง และอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงสัปดาห์โดยมีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีความรุนแรงของอาการปากแห้งและอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในทุกช่วงเวลาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) หน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเฉพาะแผนกรังสีรักษาควรพิจารณานำระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้นี้ไปใช้เพื่อช่วยลดความรุนแรงของอาการปากแห้งและเยื่อบุช่องปากอักเสบสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไป
คำสำคัญ : การพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้, อาการปากแห้ง, อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ มะเร็งศีรษะ และคอที่ได้รับรังสีรักษา
Refbacks
- There are currently no refbacks.