การดูแลครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤต : มุมมองจากญาติผู้ป่วย
Abstract
การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายมุมมองของครอบครัวต่อการดูแลเมื่อสมาชิกครอบครัวเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลเป็นสมาชิกครอบครัว 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเตรียมคำถามไว้ล่วงหน้าระหว่างเดือนมกราคม 2554 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2554
ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวได้สะท้อนมุมมองต่อการดูแลใน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การได้รับข้อมูล 2) การดูแลจิตใจและอารมณ์ 3) การตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ 4) การได้รับความสะดวกเมื่อเฝ้าดูอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 5) การมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยและ 6) การส่งเสริมการปรับตัวของครอบครัว ทั้งที่เป็นประสบการณ์ที่ตอบสนองและไม่ตอบสนองความต้องการของครอบครัว มีบางครอบครัวเท่านั้นที่จะบอกการดูแลที่ต้องการต่อพยาบาล ดังนั้นการเติมเต็มทักษะ การประเมินบทบาทหน้าที่ ปัญหาและความต้องการของครอบครัวแต่ละราย รวมถึงการให้การดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาล จะส่งผลให้ครอบครัวกล้านำเสนอปัญหาและสิ่งที่ต้องการให้หน่วยงานช่วยเหลือที่สมเหตุผลตามสถานการณ์ที่เผชิญ อันจะส่งผลให้ครอบครัวสามารถดำเนินชีวิตในภาวะวิกฤตได้อย่างราบรื่น
คำสำคัญ : การดูแลครอบครัว ผู้ป่วยวิกฤต การวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษาพบว่า ครอบครัวได้สะท้อนมุมมองต่อการดูแลใน 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) การได้รับข้อมูล 2) การดูแลจิตใจและอารมณ์ 3) การตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ 4) การได้รับความสะดวกเมื่อเฝ้าดูอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 5) การมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยและ 6) การส่งเสริมการปรับตัวของครอบครัว ทั้งที่เป็นประสบการณ์ที่ตอบสนองและไม่ตอบสนองความต้องการของครอบครัว มีบางครอบครัวเท่านั้นที่จะบอกการดูแลที่ต้องการต่อพยาบาล ดังนั้นการเติมเต็มทักษะ การประเมินบทบาทหน้าที่ ปัญหาและความต้องการของครอบครัวแต่ละราย รวมถึงการให้การดูแลอย่างเอื้ออาทรของพยาบาล จะส่งผลให้ครอบครัวกล้านำเสนอปัญหาและสิ่งที่ต้องการให้หน่วยงานช่วยเหลือที่สมเหตุผลตามสถานการณ์ที่เผชิญ อันจะส่งผลให้ครอบครัวสามารถดำเนินชีวิตในภาวะวิกฤตได้อย่างราบรื่น
คำสำคัญ : การดูแลครอบครัว ผู้ป่วยวิกฤต การวิจัยเชิงคุณภาพ
Refbacks
- There are currently no refbacks.