ผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่เข้ารับการทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 94 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 1 วัน และหลังการทดลอง 1 เดือน โดยใช้แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบวัดความรู้ การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคหัวใจของสำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ทดสอบความเที่ยงของแบบวัดความรู้ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 แบบวัดการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเองได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ภายหลังการได้รับความรู้อย่างมีแบบแผนสูงกว่าก่อนการได้รับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจ การให้ความรู้อย่างมีแบบแผนความรู้ การรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมการดูแลตนเอง
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลตนเอง ภายหลังการได้รับความรู้อย่างมีแบบแผนสูงกว่าก่อนการได้รับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่เข้ารับการทำหัตถการหลอดเลือดหัวใจ การให้ความรู้อย่างมีแบบแผนความรู้ การรับรู้ความสามารถ พฤติกรรมการดูแลตนเอง
Refbacks
- There are currently no refbacks.